วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563

เชียงใหม่ ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน: ตู้เมนไฟฟ้า เครื่องตัดกระแสไฟฟ้า และสายดิน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง

ลำพูน ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ตู้เมนไฟฟ้า เครื่องตัดกระแสไฟฟ้า และสายดิน

จากตอนที่แล้วที่ได้กล่าวถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย  ทุกท่านคงทราบถึงข้อมูลของ มิเตอร์ไฟฟ้า และสายไฟฟ้าแรงสูง ไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ยังมีอุปกรณ์สำคัญที่ควรทราบอีก ได้แก่ ตู้เมนไฟฟ้า เครื่องตัดกระแสไฟฟ้า และสายดิน
ตู้เมนไฟฟ้า 
จะ แยกตามประเภทของเฟสไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านขอไว้กับการไฟฟ้าหากเป็นไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย เราจะเรียกตู้เมนไฟฟ้านี้ว่า คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) และ 3 เฟส 4 สายว่า โหลดเซนเตอร์ (Load Center)
โดยหน้าที่ หลักของตู้เมนคือ จ่ายไฟฟ้าไปตามหน่วยวงจรไฟฟ้าที่ทางผู้ออกแบบระบบไฟฟ้า (วิศวกรไฟฟ้า) หรือเจ้าของบ้านกำหนด ที่เรียกว่า Circuit (เซอร์กิส) ตามห้องต่างๆ หรือชนิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด และทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าในกรณีแต่ละ Circuit ใช้ไฟฟ้าเกินกำลังที่กำหนดไว้ ในแต่ละลูกย่อยของตู้เมนไฟฟ้า
โดยโครงสร้างของตู้เมนไฟฟ้าจะมีเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของบ้าน ในกรณีใช้ไฟฟ้าเกินขนาดที่ตู้เมนระบุไว้หรือกรณีไฟฟ้าลัดวงจร โดยจะเลือกให้สัมพันธ์กับสายและขนาดมิเตอร์ที่การไฟฟ้าปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวอาคาร
บริการช่างไฟฟ้าเชียงใหม่ ลำพูน มืออาชีพ ทีมงานคุณภาพ เดินท่อemt
สายดิน  
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีเพื่อรองรับทุกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระบบสายดิน (ปัจจุบันมีหมดตามมาตรฐาน) โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อการสัมผัสและใช้งานทุกชนิด เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น สวิตซ์ ปลั๊ก เป็นต้น
ขนาดของสายดินจะถูกระบุตามชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นกัน โดยผู้ออกแบบระบบไฟฟ้า มักเป็นสายสีเขียวหรือเขียวสลับเหลืองต่อรวมมายังตู้เมนไฟฟ้า แล้วต่อออกไปที่สายต่อหลักดินนำกระแสไฟฟ้าที่รั่ว หรือเกินลงสู่ดิน
ขนาดหน้าตัดหลักดินและขนาดของสายต่อหลักดิน จะถูกออกแบบคำนวณโดยวิศวกรไฟฟ้าให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า เช่น สายต่อหลักดิน 10 ตร.มม ต้องต่อกับหลักดิน ไม่เกิน 35 มม. เป็นต้น แต่ทั่วไปแล้วหลักดินจะมีความลึกที่ 2.4 ม.ควรตอกให้อยู่ในระดับความชื้นของดิน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าลงสู่ดินอย่างแท้จริง
สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อความปลอดภัยนั้น นอกจากที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่ต้องคำนึง คือ การเดินสายไฟเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  ซึ่งมีทั้งการเดินท่อร้อยสาย และเดินลอยบนผนัง
ทั้งนี้ สายไฟมีขนาดหน้าตัดตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เช่น ขนาด 2.5 ตร.มม. สำหรับไฟฟ้าส่องสว่าง, ขนาด 4 ตร.มม. สำหรับเครื่องปรับอากาศ 12,000 BTU ขึ้นไป  4 ตร.มม. สำหรับเต้าเสียบ เป็นต้น
ซึ่งขนาดรวมถึงจำนวนของสายไฟฟ้า จะสอดคล้องกับชนิดของท่อที่ร้อย (โลหะ หรืออโลหะ) และขนาดของท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสม และง่ายต่อการเดินท่อร้อยสายโดยที่สายไม่ชำรุดเสียหาย ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกออกแบบและกำหนดโดยวิศวกรไฟฟ้า หรือผู้ผลิตสายไฟฟ้าและท่อจะระบุความเหมาะสมดังกล่าวตามมาตรฐาน
มาถึงตรงนี้ ทุกท่านคงได้ทำความเข้าใจเรื่องของ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย  ไปเรียบร้อยแล้วและเพื่อให้เจ้าของบ้านเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น ในตอนหน้าจะขอยกเรื่องของ “สาเหตุแห่งอันตรายกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน” มาเล่าให้ทราบกันอีกครั้ง
43-ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน-มิเตอร์ไฟฟ้า-และสายเมน.jpg
บทความที่แล้ว
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน: มิเตอร์ไฟฟ้า และสายเมน
45-ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน-สาเหตุแห่งอันตรายกับระบบไฟฟ้า.jpg
บทความถัดไป
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน: สาเหตุแห่งอันตรายกับระบบไฟฟ้า
1-ควรตัดสินใจเลือกใช้วัสดุก่อสร้างในขั้นตอนใด-(1).jpg
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ควรตัดสินใจเลือกใช้วัสดุก่อสร้างในขั้นตอนใด?
1141
06.09.2561อิษฎา แก้วประเสริฐSCG Experience Architect

ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
ตอนที่ 3 : ตู้เมนไฟฟ้า เครื่องตัดกระแสไฟฟ้า และสายดิน

ในส่วนเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย ทำหน้าที่แจกจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังพื้นที่ใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิด โดยจะทำงานสัมพันธ์ของขนาดของฟิวส์ในแต่ละเบรกเกอร์ย่อย และขนาดหน้าตัดสายไฟฟ้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิด เป็นจุดร่วมของระบบไฟฟ้าสายดินของทุกเซอร์กิต ในกรณีเกิดไฟฟ้ารั่วหรือไฟฟ้าซ๊อต
การเลือกขนาดของเบรกเกอร์เมนนั้น จะแปรผันตามมิเตอร์ไฟฟ้า ดังนี้ คือ 16 ,50 และ 100 แอมป์ จะมีขนาดมากกว่าปริมาณการจ่ายไฟฟ้าของมิเตอร์ เพื่อให้ตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าในกรณีใช้ไฟฟ้าเกินขนาด ซึ่งหากเลือกขนาดของเมนเบรกเกอร์ไม่เหมาะสมจะไม่เกิดการตัดกระแสไฟฟ้า จนทำให้เกิดความร้อนในสายไฟฟ้า (หรือเรียกว่าไฟเกิน) อันเป็นสาเหตุเพลิงไหม้ และเบรกเกอร์เมนนั้นต้องมีค่าความทนทานกระแสลัดวงจรไม่ต่ำกว่า 10KA
เบรกเกอร์ย่อยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นต้องเลือกขนาดให้สัมพันธ์กับหน้าตัดของสายไฟฟ้า และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมีหลักว่า ขนาดเบรกเกอร์ย่อยต้องมีปริมาณที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านน้อยกว่าปริมาณกระแสไฟฟ้า ในสาย แต่จะต้องมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไปจ่าย เพื่อให้เกิดการตัดกระแสไฟฟ้าตามหลักการในกรณีใช้กระแสไฟฟ้าเกิน (ดูภาพตัวอย่างประกอบ)
จะเห็นว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือ เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำร้อน และอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจากมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากกว่าอุปกรณ์อื่น โดยแต่ละผู้ผลิตตู้เมนไฟฟ้าจะมีคู่มือระบุขนาดหน้าตัดสายไฟฟ้า และขนาดอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิด ให้เหมาะสมกับขนาดของเมนเบรกเกอร์ย่อย
เครื่องตัดกระแสไฟฟ้า 
เป็นอุปกรณ์นอกเหนือจากตู้เมนไฟฟ้า ทำหน้าที่ป้องกันความผิดพลาดอันเกิดจากอุปกรณ์ของตู้เมนไม่ทำงาน โดยเฉพาะระบบสายดิน ที่จะช่วยกำจัดกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้
แต่ในกรณีเจ้าของบ้าน สัมผัสสาย L (Line) เป็นสายที่มีกระแสไฟโดยตรง เครื่องตัดไฟจะเป็นอุปกรณ์ที่จะตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน ซึ่งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารุ่นใหม่ สามารถเลือกปรับค่าให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้ เพื่อป้องกันการตัดไฟฟ้าบ่อยๆ ของอุปกรณ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุดควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้า ตามภาพตัวอย่าง
อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเบรกเกอร์ขออภัยค่ะ ขณะนี้นอกเวลาทำการ กรุณาติดต่อใหม่อีกครั้ง หรือฝากข้อความไว้ที่ SCG Contact Center นะคะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น